เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน

ชื่อผลงานวิจัย /  สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน

ชื่อนักวิจัย / หน่วยงานต้นสังกัด : ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และ อาจารย์ ดร.พญ.จิรดา ศรีเงิน

อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เบอร์โทรศัพท์ :   022564000 ต่อ 70707

เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอนของผู้ป่วยพาร์กินสัน  อาการเคลื่อนไหวช้า ( Bradykinesia) ที่เป็นอาการสำคัญในผู้ป่วยพาร์กินสัน สามารถเกิดได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ขณะนอนร่วมด้วย โดยเฉพาะอาการในช่วงเวลากลางคืนจะทำให้ผู้ป่วยพลิกตัวลำบาก ลงจากเตียงช้าและลำบาก เคลื่อนไหวขณะนอนน้อยกว่าปกติ    จากการศึกษาในอดีตพบอุบัติการณ์ของการเคลื่อนไหวน้อยขณะนอนในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ถึงร้อยละ 96 ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่อายุใกล้เคียงและสุขภาพแข็งแรง (สูงอายุ) พบประมาณ ร้อยละ 4 ซึ่งการเคลื่อนไหวน้อยในช่วงนอนทำให้เกิดปัญหาสำคัญตามมาได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดอุบัติเหตุเช่นการตกเตียง หกล้ม หรือ ปอดอักเสบจากอาการสำลักได้  เป็นต้น

นักวิจัยได้พัฒนาคิดค้น เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นและเชิงมุม ประกอบด้วย ชุดรับสัญญาณและแปลงสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลบันทึกแผ่น SD Card ภานในตัวเครื่องและนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป โดยชุดรับสัญญาณประกอบด้วย ชุดรับสัญญาณเชิงเส้น  (Accerelometer) และชุดรับสัญญาณเชิงมุม (Gyroscope) ซึ่งมีชุดรับสัญญาณดังกล่าวเป็นชุดรับสัญญาณที่นำมาใช้ผลิตเครื่องตรวจวัดการเคลื่อนไหว เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมีความแม่นยำสูงและมีความคลาดเคลื่อนต่ำ  ทำการตรวจวัดโดยติดชุดรับสัญญาณบริเวณทำการติดตั้งเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว    5 จุด คือ ข้อมือ 2 ข้าง  ข้อเท้า 2 ข้าง และบริเวณกลางลำตัว  เพื่อประเมินปัญหาการเคลื่อนไหวลำบากขณะนอน สำหรับการปรับการรักษาต่อไปในอนาคต

จุดเด่น

       1.) สามารถนำเครื่องมีการวัดการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยพาร์กินสัน แบบที่ติดกับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาทำให้สามารถวัดการเคลื่อนไหวได้ทุกช่วงรวมถึงใช้ในการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น                        

       2.) แพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือสาขาประสาทวิทยาสามารถนำเครื่องมือไปใช้ในการตรวจวัดการเคลื่อนไหว  ของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการติดตามอาการตอนกลางคืนได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติลักษณะเฉพาะ

            - ขนาด สูงxยาวxกว้าง = 2.3 cm x 6.5 cm x 4 cm

            - น้ำหนัก = 0.2 Kg

การดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา :

สิทธิบัตร:  อยู่ระหว่างจดสิทธิบัตร

งานวิจัยที่ตีพิมพ์

1. Bhidayasiri R., Sringean J., Taechalertpaisarn P., Thanawattano C. Capturing nighttime symptoms in Parkinson’s disease: Technical development and experimental verification of inertial sensors for nocturnal hypokinesia. J Rehabil Res Dev. 2016;53(4):487-98.

2. Sringean J., Taechalerpaisarn P., Thanawattano C., Bhidayasiri R. How well do Parkinson's disease patients turn in bed? Quantitative analysis of nocturnal hypokinesia using multisite wearable inertial sensors. Parkinsonism Relat Disord 2016;23:10-6.

3. Bhidayasiri R., Sringean J., Thanawattano C. Sensor-based evaluation and treatment of nocturnal hypokinesia in Parkinson's disease: An evidence-based review. Parkinsonism Relat Disord 2016;22 Suppl 1:127-33.


 

 

 

Visitors: 34,382