ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน

     โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease, PD) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Disorders) ที่พบได้บ่อยรองลงมาจากโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยชื่อของโรคได้มาจากนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษซึ่งพูดถึงโรคนี้เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1817 ในบทความที่ชื่อว่า Shaking Palsy

     โรค พาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมตายของเซลล์ใน สมองส่วนที่เรียกว่า Basel Ganglia (ที่รวมถึง Caudate putamen, Globus pallidus interna, Globus pallidus externa, Subthalamic necleus และ Substantia Nigra) ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เกิดผลทำให้สารเคมีในสมองที่มีความสำคัญในการควบคุมความเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า “โดปามีน (Dopamine)” ลดลง

     ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลในส่วนของ Direct และ Indirect pathway ใน Basal ganglia ทำให้เกิดอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้าโดยอาการส่วนใหญ่จะแสดงออกให้เห็นชัด เมื่อจำนวนเซลล์ (Dopaminergic cells) ในส่วนของ SNc ลดน้อยลงไปอย่างน้อยร้อยละ 60 จากปกติ

     โรคพาร์กินสันสามารถเกิดขึ้นได้ในทั้งผู้ชาย และผู้หญิงในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน หรือมากกว่าเล็กน้อยในผู้ป่วยชาย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยพาร์กินสันจะอยู่ที่ประมาณ 55-60 ปี และผู้ป่วยส่วนมากจะมีอายุมากกว่า 50 ปี ส่วนผู้ป่วยที่อายุน้อย หรือที่เรียกว่า Young-onset Parkinson’s disease (YOPD) คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีพยาธิสภาพเช่นเดียวกับผู้ป่วยพาร์กินสันอายุมาก แต่จะมีการดำเนินของโรคที่แตกต่างออกไป

อาการของโรคพาร์กินสัน

1.) อาการสั่น (Tremor) เป็นอาการเด่นที่พบบ่อยสุด คือ มักจะเริ่มเห็นที่มือ โดยจะเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อน และเกิดขณะที่อยู่เฉยๆ อาการสั่นจะลดลงเมื่อใช้มือนั้นทำงาน
2.) อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) มักจะเกิดที่แขนหรือขาข้างเดียวกันกับที่มีอาการสั่นทำให้เกิดความลำบากต่อ ผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าลงนอกจากนี้ตัวหนังสือที่ผู้ป่วยเขียนจะเริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงโดยจะตัวหนังสือจะเล็กลงและชิดติดกัน
3.) อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) และ เคลื่อนไหวน้อยน้อย (Hypokinesia) และต้องใช้ระยะเวลานานในการเริ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย
4.) อาการทรงตัวไม่สม่ำเสมอ (Postural instability) การเดินของผู้ป่วยมักจะเดินซอยเท้าถี่และเล็ก ในลักษณะโน้มตัวไปข้างหน้า และเดินไม่แกว่งแขน

       นอกจากนี้ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าอาการ ของโรคพาร์กินสันยังรวมไปถึงอาการที่นอกเหนือจากอาการเด่นในการเคลื่อนไหว ที่ช้า (Non-motor manifestations) ดังเช่น อาการหลงลืม ซึมเศร้า ท้องผูก รวมไปถึงอาการเสื่อมสมรรถนะทางเพศ

       ซึ่งสารเคมีหรือสารพิษหลายตัวสามารถทำให้ ผู้ป่วยหรือสัตว์ทดลองมีอาการของพาร์กินโซนิซึมได้ เช่น MPTP, Paraquat, Organochlorines และ Rotenone ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืช และพิษจากแมงกานีส เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการพาร์กินโซนิซึมได้ ซึ่งอาจจะแยกแยะได้ยากจากผู้ป่วยพาร์กินสันทั่วไป

Visitors: 34,577