ปัญหาการทรงตัว (Balance Problems)
อาการและการวินิจฉัย
ผู้ป่วยบางท่านอาจจะมีปัญหาการทรงตัวโดยไม่ รู้ตัว ในขณะที่บางท่านอาจคิดว่าตนเองมีปัญหาการทรงตัว แต่มีความรู้สึกเขินอายที่จะบอกให้แพทย์ เพื่อนหรือครอบครัวของตนเองรับทราบ อย่างไรก็ตามตัวท่านเองสามารถระบุเบื้องต้นได้ว่าท่านมีปัญหาเรื่องการทรง ตัวหรือไม่ โดยการตั้งคำถามบางข้อที่สำคัญกับตัวท่านเอง หรือหากเป็นกรณีที่จำเป็น ท่านควรได้รับการตรวจจากแพทย์โดยตรง
ลักษณะอาการ
การวินิจฉัยโรคความผิดปกติในการทรงตัว (Balance disorders) อาจมีความยากลำบาก เพราะว่าบางครั้งผู้ป่วยพบว่ามันค่อนข้างยากที่จะอธิบายอาการต่างๆของตน เองออกมาเป็นคำพูดให้แพทย์ฟัง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจจะใช้คำพูดเช่น วิงเวียน หน้ามืด มึนงง เพื่อที่จะอธิบายความรู้สึกของตนเอง สำหรับผู้ป่วยบางราย ความรู้สึกของอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นแค่ช่วงสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยท่านอื่น อาจเกิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเหล่านั้น.
การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
โรคความผิดปกติในการทรงตัวเป็นปัญหาที่น่า เป็นห่วง บางครั้งความผิดปกตินี้เป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น อาจเกี่ยวเนื่องกับสมอง หัวใจ หรือระบบไหลเวียนเลือด นอกจากนี้ความผิดปกติดังกล่าวยังเป็นสาเหตุหลักของการหกล้มและการบาดเจ็บจาก การหกล้มในผู้สูงอายุ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ โรคความผิดปกติในการทรงตัวจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทัน ท่วงที
คำถามในการถามตนเองเพื่อประเมินความผิดปกติในการทรงตัว
ถ้าท่านตอบ “ใช่” ในคำถามข้อใดข้อหนึ่ง ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการดังกล่าว
- ฉันรู้สึกไม่มั่นคง
- ฉันรู้สึกเหมือนกับว่าห้องหมุนรอบตัวฉัน
- ฉันรู้สึกเหมือนกับว่าฉันกำลังเคลื่อนไหวทั้งๆที่ฉันกำลังยืนหรือนั่งอยู่กับที่
- ฉันรู้สึกว่าฉันเสียการทรงตัวและกำลังหกล้ม
- ฉันรู้สึกเหมือนกับว่าฉันกำลังล้มลง
- ฉันรู้สึกมึนงงหรือเหมือนจะเป็นลม
- สายตาฉันพร่ามัว
- ฉันเคยรู้สึกสับสน ลืมเวลา สถานที่หรือลืมว่าตนเองเป็นใคร
คำถามที่ท่านควรถามแพทย์
ถ้าท่านคิดว่ามีความผิดปกติในการทรงตัว ท่านควรรีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ท่านยังสามารถช่วยแพทย์ของท่านในการวินิจฉัยได้ โดยการเขียนข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับอาการวิงเวียนศีรษะหรือปัญหาการทรงตัว เอาไว้ก่อนและให้ข้อมูลดังกล่าวแก่แพทย์ เมื่อท่านไปพบแพทย์ ท่านควรบอกอาการต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โปรดเขียนคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่แพทย์ของท่าน
- โปรดบรรยายอาการวิงเวียนศีรษะหรือปัญหาการทรงตัวของท่าน
- ท่านมีอาการวิงเวียนศีรษะหรือปัญหาการทรงตัวบ่อยแค่ไหน
- ท่านเคยหกล้มหรือไม่
- ถ้าท่านเคยหกล้ม ท่านหกล้มเมื่อไหร่ ที่ไหน และบ่อยแค่ไหน
- ท่านรับประทานยาชนิดไหนบ้างตอนนี้ รวมถึงยาที่ซื้อเอง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแอสไพริน ยานอนหลับ เป็นต้น
- โปรดระบุชื่อยาต่างๆที่ท่านรับประทานอยู่ตอนนี้
- ท่านรับประทานยาเหล่านั้นขนาดเท่าไหร่ต่อวัน
- ในแต่ละวันท่านรับประทานยาเหล่านั้นเวลาไหนบ้าง
- ท่านรับประทานยาเหล่านั้นเพื่อรักษาอาการหรือโรคอะไร
การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์ของท่านอาจส่งท่านต่อไปยังแพทย์เชี่ยว ชาญด้านหู คอและจมูก (Otolaryngologist) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวเป็นแพทย์และศัลยแพทย์ที่ได้รับการอบรมเป็น พิเศษเกี่ยวกับโรคทางหู จมูก ลำคอ ศีรษะและคอ
แพทย์เชี่ยวชาญด้านหู คอและจมูกอาจถามเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาต่างๆของท่านและอาจตรวจร่างกายท่าน เพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดความปกติในการทรงตัว ทั้งนี้แพทย์อาจทำการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริงและตรวจสอบ ปัญหาด้านอื่นๆ ต่อไป
แหล่งที่มา
http://nihseniorhealth.gov/balanceproblems/symptomsanddiagnosis/01.html
แปลและเรียบเรียง โดย ภก. ประมณฑ์ วิวัฒนากุลวาณิชย์
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางท่านอาจจะมีปัญหาการทรงตัวจากตัวโรคพาร์กินสัน เอง ดังนั้นเมื่อเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ที่รักษาท่าน โดยเร็ว